ในปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังตระหนักถึงปัญหาเรื่องการปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยจะมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวคือ เทคโนโลยีการจับ กักเก็บและใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture, Storage and Utilization หรือCCSU) ดังนั้น ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงอยากเสนอชุดบทความในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าวโดยแบ่งออกเป็นตอนที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยเริ่มจากความรู้พื้นฐานในเรื่องของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นบทความตอนที่ 1 หลังจากนั้นจะกล่าวถึงหัวข้ออื่นในตอนต่อๆไป
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีอยู่ตามธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายหากมีในปริมาณน้อย อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบัน คาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มปริมาณขึ้นของเป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆทาง ซึ่งสาเหตุของการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ก็มาจากฝีมือของมนุษย์ เช่น การผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม การใช้น้ำมันในยานพาหนะต่าง ๆ
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่เป็นองค์ประกอบในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุลโดยมีสูตรเคมี CO2 คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี สามารถละลายน้ำได้และก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) น้ำหนักโมเลกุล 44.01 ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (Dry ice)
ตอนนี้เราพอจะมองเห็นประโยชน์ของคาร์บอนที่สามารถสร้างประโยชน์และความเจริญได้อย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็สามารถสร้างผลกระทบได้เช่นกัน ซึ่งเราจะมาติดตามกันต่อไปในครั้งหน้าครับ
ABOUT THE AUTHOR
รศ. ดร. เกรียงไกร มณีอินทร์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง