อัตราการไหล (Flow Rate) มีความจำเป็นต่อการควบคุมการผลิต (Process Control) และทำสมดุลมวล (Material Balance) ของโรงงาน วิศวกรโรงงานหลายๆท่านอาจจะเคยประสบปัญหาในการหาอัตราการไหลของของไหลในโรงงาน เช่น
คำถามคือแล้วเราจะรู้อัตราการไหลได้อย่างไร ถ้าไม่มีข้อมูลจากมาตรวัดอัตราการไหล?
เทคนิคในการประมาณอัตราการไหลในโรงงานจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน
ในกรณีที่ไม่มีมาตรวัดอัตราการไหล หรือมาตรวัดอัตราการไหลไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำได้ เราสามารถประมาณอัตราการไหลได้หลากหลายวิธีเช่น
โดยตัวอย่างในภาพที่ 2 นั้นสามารถประมาณ Top Product ได้จากสมการ:
Top Product = Feed – Bottom Product
2. ใช้การวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับถัง โดยอาจจะเป็นไปได้ทั้งถังกักเก็บต้นทาง และถังกักเก็บปลายทาง โดยสำหรับถังกักเก็บต้นทางจะต้องไม่มีของไหล ไหลเข้าถังขณะทำการวัด (ภาพที่ 3)
โดยสมการที่ใช้ในการประมาณอัตราการไหลของรูปที่ 3 แสดงได้ดังนี้:
Draw-off rate = (Initial Level – Final Level) x Cross Section Area of Tank/ Time between initial and final level
ในกรณีที่เป็นถังกักเก็บปลายทางก็สามารถใช้สมการในทำนองเดียวกันที่หาอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับถัง ทั้งนี้จะต้องไม่มีการดึงของเหลวออกจากถัง ณ ช่วงเวลาที่ทำการวัด จึงจะสามารถใช้วิธีการนี้ได้
3. ใช้มาตรวัดอัตราการไหลแบบเปลี่ยนตำแหน่งการวัดได้ (Portable Flow Meter) เช่น Ultrasonic flow meter (รูปที่ 4) โดยจะวัดอัตราการไหลออกมาในรูปแบบของความเร็วของของไหล และแปลงเป็นอัตราการไหลเชิงปริมาตรโดยใช้ขนาดท่อ วิธีนี้อาจจะมีข้อจำกัดในกรณีที่ท่อมีความคดเคี้ยว หรือวัสดุของท่อบางประเภท ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการทำงานและความแม่นยำในการอ่านค่า
4. ใช้ Pump Characteristic Curve ในการประมาณอัตราการไหล โดยมีขั้นตอนดังนี้
หลังจากเก็บข้อมูลความดันให้ใช้สมการด้านล่างแปลงข้อมูลความดันเป็น ΔHfield
Pdischarge – Psuction = ρliquid g ΔHfield
Pdischarge , ความดันขาออกของปั๊มหลักให้ใช้ PG1 ในรูปที่ 4
Psuction , ความดันขาเข้าของปั๊มหลักให้ใช้ PG2 ในรูปที่ 4
ρliquid , ความหนาแน่นของเหลว
g, ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ΔHfield
โดยความถูกต้องของวิธีการประมาณด้วยวิธีนี้ ขึ้นกับว่าปั๊มที่ติดตั้งหน้างานทำงานสอดคล้องกับ Pump Characteristic Curve แค่ไหน เช่น มีลักษณะ ขนาดใบพัด รอบการหมุน ตรงกับที่ระบุไว้ใน Pump Datasheet และไม่มีความเสียหายของใบพัด เป็นต้น
5. ใช้ Control Valve Characteristic Curve ในการประมาณอัตราการไหล โดยมีขั้นตอนดังนี้
หาค่า Cv จาก %travel จริงของ Control Valve ดังแสดงในรูปที่ 7
โดยความถูกต้องของวิธีการประมาณด้วยวิธีนี้ ขึ้นกับว่า Control Valve ที่ติดตั้งหน้างานทำงานสอดคล้องกับ Control Valve Characteristic Curve แค่ไหน เช่น โมเดลที่ใช้ตรงกัน ไม่มีการสึกหรอ หรืออุดตัน เป็นต้น โดยตัวอย่างของ Control Valve Characteristic Curve สามารถดูได้ในแหล่งอ้างอิงที่ 1 และ 2
ABOUT THE AUTHOR
Nattapong Pongboot
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอิสระ ผู้เขียนมีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี กับบริษัทชั้นน้ำทั้งในไทยและต่างประเทศ และยังเป็นวิทยากรให้กับ http://www.chemengedu.com/
แหล่งอ้างอิง