Logo
  • About US
    • Home
    • Student Chapter
    • Contact
    • Annual Report
  • Membership
    • Member Benefits
    • Corperate
  • Events
    • Upcoming Event
    • Past Event
      • TIChE
        • TIChE2022
        • TIChE 2023
        • TIChE 2024
        • TIChE2025
      • TNChE
        • TNChE2022
        • TNChE2023
        • TNChE2024
        • TNChE2025
    • News & Announcement
      • Design Competition
      • Innovation Idea Challenge
  • Communities
  • Knowledge Center
    • TIChE Credential
    • Academy
    • Articles
  • TIChE Awards
    • TIChE Award 2568
    • Hall of Fame
    • Award
การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 8.00-9.30 น. คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (The Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry: TIChE) พร้อมด้วยคุณวิสูตร เดือนกว้าง เลขาฯ สมาคม คุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคม ได้เข้าพบ ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ เพื่อประชุมหารือและขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดนโยบายในเรื่องบทบาทของสมาคมฯ ต่อภาคการศึกษา อีกทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแผนงานของสมาคมฯต่อภาคการศึกษาและภาคเอกชน

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 11.00-12.30 น. คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (The Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry: TIChE) พร้อมด้วยคุณวิสูตร เดือนกว้าง เลขาฯ สมาคม คุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคม ได้เข้าพบ รศ.ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ หัวหน้าภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.ดร.เก็จวลี พฤกษาทร และรศ.ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ คณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เพื่อขอความเห็นในเรื่องบทบาทของสมาคมฯ ต่อภาคการศึกษา และหารือเพื่อกำหนดนโนบายของสมาคมฯในการตอบโจทย์ความต้องการของภาคการศึกษา อีกทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแผนงานของสมาคมฯต่อภาคการศึกษาและภาคเอกชน

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 8.30-10.00 น. คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (The Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry: TIChE) พร้อมด้วยคุณวิสูตร เดือนกว้าง เลขาฯ สมาคม คุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคม ได้เข้าพบ รศ.ดร.ปานจันทร์ ศรีจรูญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เพื่อขอความเห็นในเรื่องบทบาทของสมาคมฯ ต่อภาคการศึกษา และหารือเพื่อกำหนดนโนบายของสมาคมฯในการตอบโจทย์ความต้องการของภาคการศึกษา อีกทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแผนงานของสมาคมฯต่อภาคการศึกษาและภาคเอกชน

The 2nd TIChE Open Innovation Idea Challenge
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

The 2nd TIChE Open Innovation Idea Challenge

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 เวลา 15.30-17.30 น. คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (TIChE) พร้อมด้วยคุณวิสูตร เดือนกว้าง เลขาฯ สมาคม คุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคม คุณพงษ์สุดา อาโยวงษ์ เจ้าหน้าที่สมาคม และ ดร.ศิริชาญ จิระพงษ์พันธ์ ได้เข้าพบ รศ.ดร.สิริพล อนันตวรสกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เพื่อขอความเห็นจากหัวหน้าภาควิชา พร้อมด้วย รศ.ดร.ไพศาล คงคาฉุยฉาย และ รศ.ดร.ชนิดา เนียมนุ้ย อาจารย์ประจำภาควิชาในเรื่องบทบาทของสมาคมวิศวกรรมเคมีฯ ต่อภาคการศึกษา และหารือเพื่อกำหนดนโนบายของสมาคมในการตอบโจทย์ความต้องการของภาคการศึกษา อีกทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแผนงานของสมาคมฯต่อภาคการศึกษาและภาคเอกชน

การแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 22 กันยายน 2565 คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (TIChE) และคุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคมฯ ได้เข้าร่วมแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดี เนื่องในวันครบรอบ 34 ปี วันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาของนายกสมาคม
  • 24/11/2022 by Macross
  • News, News & Events

การหารือในการกำหนดนโยบายของสมาคมสำหรับความต้องการของภาคการศึกษาของนายกสมาคม

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 11:00-12:30 น. คุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (TIChE) พร้อมด้วยคุณวิสูตร เดือนกว้าง เลขาฯ และ คุณพรนิภา แจ้งชัด ผู้จัดการสมาคม ได้เข้าพบ รศ.ดร.ประกร รามกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อขอความเห็นจากหัวหน้าภาควิชาในเรื่องบทบาทของสมาคมวิศวกรรมเคมีฯ ต่อภาคการศึกษา และหารือเพื่อกำหนดนโนบายของสมาคมในการตอบโจทย์ความต้องการของภาคการศึกษา อีกทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแผนงานของสมาคมฯต่อภาคการศึกษาและภาคเอกชน โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมประชุม ดังนี้• ผศ.ดร.วีรยุทธ เลิศบำรุงสุข• ผศ.ดร.วีรวัฒน์ ปัตทวีคงคา• ดร.สุนทร ปิติเจริญพันธ์• ผศ.ดร.ธรวิภา พวงเพ็ชร• ผศ.ดร.ชูวงศ์ ชัยสุข• ดร.วสุ ไชยตรี

ตอนที่ 4 แหล่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับโลก ในสหรัฐฯ และไทย
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

ตอนที่ 4 แหล่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับโลก ในสหรัฐฯ และไทย

โดย เกรียงไกร มณีอินทร์ HIGHLIGHTS แหล่งก๊าซเรือนกระจก แหล่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากเนื้อหาในบทก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก ทำให้เราตระหนักได้ว่าก๊าซดังกล่าวมีประโยชน์และจำเป็นต่อชั้นบรรยากาศของเราตราบเท่าที่มีปริมาณพอเหมาะ ก๊าซเรือนกระจกนั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ทำขึ้น ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบหลัก 3 ลำดับแรกในเชิงปริมาณ CO2 สมมูล ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจาก การเผาไหม้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเผาถ่านหินในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ การหุงต้ม การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์  การทำฟาร์ม ก๊าซมีเทน (CH4) เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ หรือไร้ออกซิเจน เช่น การย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ และของเสียจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่ในหลายกรณีก็เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเลี้ยงปศุสัตว์ มูลสัตว์ การเกษตร การบำบัดน้ำเสีย และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ในธรรมชาติเกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนของแบคทีเรียในดิน นอกจากนี้ ก๊าซดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากผลพลอยได้จากการเลี้ยงปศุสัตว์ มูลสัตว์ และการเกษตร อย่างไรก็ตาม […]

ตอนที่ 3 ผลกระทบด้านลบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

ตอนที่ 3 ผลกระทบด้านลบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โดย เกรียงไกร มณีอินทร์ HIGHLIGHTS ก๊าซเรือนกระจก ศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อน คาร์บอนไดออกไซด์สมมูล(หรือเทียบเท่า) ผลกระทบด้านลบของก๊าซเรือนกระจก หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จักปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) กันมาแล้ว เพราะก๊าซเรือนกระจกไม่เคยหายไปจากชีวิตของเราและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับก๊าซเรือนกระจกกันให้มากขึ้น ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) (นั่นคือคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก) เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งมีความสามารถในการดูดกลืนและแผ่คายเฉพาะคลื่นรังสีความร้อนความถี่ต่ำ(หรือรังสีอินฟราเรด) ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิผิวสูงมาก จึงแผ่รังสีความถี่สูงมากระทบผิวโลกในเวลากลางวันได้โดยไม่ถูกดูดกลืนโดยคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ในเวลากลางคืนผิวโลกซึ่งมีอุณหภูมิสูงไม่ถึงร้อยองศา จะแผ่คายได้เฉพาะคลื่นรังสีความร้อนความถี่ต่ำเพื่อทิ้งไปในห้วงอวกาศ แต่รังสีดังกล่าวจะถูกดูดกลืนโดยคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแล้วแผ่คายบางส่วนกลับคืนผิวโลก ยิ่งความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ยิ่งสูง สัดส่วนของรังสีความร้อนความถี่ต่ำที่แผ่คืนผิวโลกจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผิวโลกจึงเย็นตัวได้ช้าลง เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดซ้ำๆ ทุกวันเป็นเวลาหลายสิบปี อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจึงค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ทีละนิดๆ อย่างช้าๆ  นี่คือสาเหตุต้นตอที่แท้จริงของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งนักวิชาการจำนวนไม่น้อยมักจะอธิบายได้ไม่ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะไปต่อ ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านรู้จักศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีก 2 คำ คือ ศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP) คาร์บอนไดออกไซด์สมมูล(หรือเทียบเท่า) (Carbon dioxide equivalent) ระดับศักยภาพที่ก๊าซเรือนกระจกสามารถทำให้โลกร้อนขึ้น ถูกวิจัยและกำหนดโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel […]

ตอนที่ 2 ความคืบหน้าในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การประชุม COP 26 นั้นสำคัญไฉน
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

ตอนที่ 2 ความคืบหน้าในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การประชุม COP 26 นั้นสำคัญไฉน

โดย เกรียงไกร มณีอินทร์ HIGHLIGHTS การประชุม COP 26 กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่รุนแรงขึ้นและยากต่อการคาดคะเน ได้ส่งผลให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ต้องเผชิญกับวิกฤติภัยแล้ง พายุ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น คลื่นความร้อน น้ำท่วม และไฟป่า ตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น จากปัญหาดังกล่าว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึงมหันตภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้เกิดการประชุมระดับนานาชาติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ แคว้นสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 12 พ.ย. 2564 และได้ปิดฉากลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2564 โดยมีการบรรลุข้อตกลงเพื่อควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลักดันให้ยุติหรือการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะถ่านหิน  การประชุมนี้มีจุดประสงค์หลัก คือ การให้แต่ละประเทศเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net […]

Posts pagination

1 … 3 4 5 6 7 … 15
© 2019 TIChE. All rights reserved.