โดยทั่วๆ น้ำมันดิบสามารถแยกตามคุณสมบัติต่างๆได้ดังนี้
1.ความหนาแน่น (Density) ซึ่งโดยปกติจะใช้หน่วยที่เรียกว่า API
2.ปริมาณกำมะถัน (Sulfur Content) ซึ่งโดยปกติจะใช้หน่วยร้อยละโดยมวล (weight percent)
3.ค่าความเป็นกรด (Total Acid Number, TAN) ซึ่งโดยปกติจะใช้หน่วย mg KOH/g
โดยปกติแล้ว น้ำมันดิบที่ความหนาแน่นสูง (หนัก, Heavy) มีปริมาณกำมะถันสูง และมีค่าความเป็นกรดที่สูง จะมีราคาซื้อขายที่ถูกกว่า เพราะนำไปกลั่นแยกได้ยากกว่า และต้องใช้เงินลงทุนสร้างโรงกลั่นที่สูง ถ้าเทียบกับน้ำมันดิบที่ความหนาแน่นต่ำ (เบา, Light) ปริมาณกำมะถันน้อย และมีความเป็นกรดที่ต่ำกว่า
จากการสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่ามีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่ถูกค้นพบแล้ว 1.73 ล้านล้านบาร์เรล โดยพบมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง (Middle East) และรองลงมาคือภูมิภาคอเมริกาใต้และกลาง (South&Central America) ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พบส่วนใหญ่จะมีปริมาณกำมะถันที่สูง
น้ำมันดิบต่างชนิดกันก็จะมีปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่แตกต่างกัน เช่น น้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าหรือเบากว่าก็จะประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีราคาสูง เช่น น้ำมันแก๊ซโซลีน น้ำมันอากาศยาน หรือน้ำมันดีเซล ในสัดส่วนที่สูงกว่า ซึ่งทำให้กลั่นแยกได้ง่ายกว่า น้ำมันดิบชนิดเบาจึงมีราคาสูงกว่า ในขณะเดียวกันน้ำมันดิบที่หนักกว่าก็จะให้ได้น้ำมันเตาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาต่ำในปริมาณที่สูง จึงทำให้น้ำมันดิบชนิดหนักมีราคาที่ต่ำกว่า โดยองค์ประกอบน้ำมันดิบแต่ละชนิดสามารถแสดงได้ในภาพที่ 2
โดนทั่วๆไปแล้วน้ำมันดิบที่เบากว่าจะมีปริมาณกำมะถันต่ำกว่าดังแสดงในภาพที่ 2 เช่น น้ำมันดิบ Eagle Ford มีความหนาแน่น 45 API และมีปริมาณกำมะถันแค่ร้อยละ 0.2
น้ำมันดิบนั้นมีความหลากหลายทั้งในแง่คุณสมบัติและแหล่งที่มา โดยปกติแล้วการกำหนดราคาน้ำมันดิบจะอ้างอิงกับน้ำมันดิบอ้างอิง (Benchmark Crude) ซึ่งโดยปกติจะเป็นน้ำมันดิบชนิดเบาและปริมาณกำมะถันที่ต่ำ โดยมีตัวอย่างเช่น
ภาพที่ 4 เป็นตัวอย่างการเปรียบเทียบราคาของน้ำมันดิบชนิดต่างๆเทียบกับน้ำมันดิบ Brent โดยจะเห็นว่า น้ำมันดิบ Maya จากประเทศ Mexico ที่เป็นน้ำมันดิบชนิดหนักและมีปริมาณกำมะถันที่สูง มีราคาที่ต่ำกว่าน้ำมันดิบ Brent โดยประมาณถึง 10-20% เลยทีเดียว ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันที่ออกแบบมาให้กลั่นแยกน้ำมันดิบชนิดหนักได้ก็จะมีข้อได้เปรียบเชิงเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องแลกมากับเงินลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันที่สูงกว่า
วันนี้ทางผู้เขียนก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันดิบไม่มากก็น้อย บทความฉบับหน้าเรามาเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นของโรงกลั่นน้ำมันกันครับ
สำหรับผู้อ่านที่สนใจรับชมการสาธิตว่าน้ำมันดิบชนิดต่างๆมีความแตกต่างกันยังไง สามารถรับชมได้ตาม link ด้านล่างเลยครับ
ABOUT THE AUTHOR:
Nattapong Pongboot – ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอิสระ ผู้เขียนมีประสบการณ์กว่า 10 ปี ใอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี กับบริษัทชั้นน้ำทั้งในไทยและต่างประเทศ และยังเป็นวิทยากรให้กับ http://www.chemengedu.com/