Logo
  • About US
    • Home
    • Student Chapter
    • Contact
    • Annual Report
  • Membership
    • Member Benefits
    • Corperate
  • Events
    • Upcoming Event
    • Past Event
      • TIChE
        • TIChE2022
        • TIChE 2023
        • TIChE 2024
        • TIChE2025
      • TNChE
        • TNChE2022
        • TNChE2023
        • TNChE2024
        • TNChE2025
    • News & Announcement
      • Design Competition
      • Innovation Idea Challenge
  • Communities
  • Knowledge Center
    • TIChE Credential
    • Academy
    • Articles
  • TIChE Awards
    • TIChE Award 2568
    • Hall of Fame
    • Award
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

การพัฒนาของโรงงานนำร่อง Part 1 – รวม 8 ข้อเด็ดๆ ของโรงงานนำร่องใน “ยุคก่อน” เพราะของเก่า มีทั้งเรื่องเศร้า และเรื่องแซ่บ !!!

โดย บำรุง สูงเนิน

HIGHLIGHTS

  • การลงทุนสร้างโรงงานนำร่องในสมัยก่อนมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลาการก่อสร้างและดำเนินงานนาน แต่มีความจำเป็น
  • มีความพยายามลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ในการดำเนินงาน โดยการใช้คนจำนวนมากทดแทน แต่ก็ยังเกิดปัญหาตามมาที่ยังคงต้องจ่ายเพิ่ม
  • ประสบการ์ณของผู้ดำเนินงานยังคงเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโรงงานนำร่อง

ข้อที่หนึ่ง: เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กกระจัดกระจายรอบ ๆ โรงงานหรือศูนย์การวิจัย

โรงงานนำร่องส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้น มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างเล็ก ๆ ที่กระจัดการจายอยู่ในบริเวณโรงงานหรือศูนย์วิจัย โดยขนาดของอุปกรณ์ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าโรงงานนำร่องในทุกวันนี้ หลายๆครั้งจะถูกก่อสร้างอยู่ที่มุมตึกหรือบนแผ่นคอนกรีต (Concrete pad) โดยเป็นเพิงขนาดเล็กใกล้กับหน่วยผลิตที่สนใจ  หลายๆ โรงงานนำร่องถูกสร้างภายในคลังเฉพาะ (Open bays) โดยมีที่กั้นชัดเจน หรือถูกสร้างไว้ในห้องปฏิบัติการเป็นครั้งคราว

ข้อที่สอง: ยังคงนิยมใช้ท่อแบบ Pipe มากกว่า Tube

ลักษณะของท่อที่ใช้จะเป็นลักษณะของ Pipe มากกว่า Tube โดยขนาดจะอยู่ที่ประมาณ ¼ นิ้ว และ ½ นิ้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะนิยมใช้ Tube ขนาด ¼ นิ้ว และ ½ นิ้ว ร่วมกับอุปกรณ์ต่อท่อ (Compression fittings)  โดยสมัยนั้นยังนิยมการเชื่อมท่อ (Welded pipe) และการใช้หน้าแปลน (Flanges) เพื่อลดปัญหาการรั่วและลดค่าใช้จ่ายเรื่องการรั่วไหลของสารขณะทำการดำเนินงาน

ข้อที่สาม: ถูกออกแบบเพื่อใช้ทดสอบในสภาวะความดันต่ำ

Hood units มีขนาดเล็กและไม่นิยมออกแบบเพื่อใช้งานในระยะยาว  โดยปกติอุปกรณ์จะถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบในสภาวะความดันต่ำ นอกจากนี้ยังนิยมออกแบบเพื่อใช้ในการทดสอบสภาวะแบบกะ (Batch operation) โดยสามารถเพิ่มขนาดของกำลังการผลิตโดยการใช้การเพิ่มจำนวนกะแทนการเพิ่มขนาดของอุปกรณ์

ข้อที่สี่: นิยมควบคุมด้วยคนมากกว่าระบบอัตโนมัติ

ระบบการควบคุมของในสมัยนั้นยังคงนิยมใช้การควบคุมด้วยคน (Manual controls) ในโรงงานนำร่องขนาดเล็ก  สาเหตุหลักมาจากเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงในใช้เครื่องควบคุมอัตโนมัติที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักของการติดตั้งเครื่องควบคุมมาจาก ตู้เครื่องมือ (Instrument cabinet) ห้องศูนย์กลางการควบคุม (Central control rooms) และจำนวนลูปของการควบคุม (Control loops)  บางบริษัทอาจพยายามใช้ประเภทของตัวควบคุมอัตโนมัติแบบใหม่โดยพึ่งคอมพิวเตอร์ยุคก่อน เพื่อที่จะเก็บข้อมูลพร้อมกับทำการควบคุมในคราวเดียว ซึ่งทำให้ระบบมีขนาดใหญ่และต้องการการควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ระบบอย่างมาก เช่น อุณภูมิและความชื้น ทำให้มีความยุ่งยากในการทำงาน  ด้วยเหตุนี้โรงนำร่องจำนวนบางส่วนจึงยังนิยมใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินงานแทน

ข้อที่ห้า: ใช้จำนวนคนที่มากในการดูแลแต่ละหน่วยการทดลอง

เป็นเรื่องปกติที่โรงงานนำร่องสมัยนั้นต้องใช้พนักงานดูแลจำนวนมากในแต่ละหน่วยการทดลอง เนื่องจากยังใช้ระบบที่นิยมควบคุมด้วยคนจากข้อที่สี่ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเกี่ยวข้องกับการใช้การจดลงบนกระดาษ (Clipboard) และรันชีต (Run sheet) จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่มักถูกเก็บหรือสร้างขึ้นอย่างผิดพลาดเนื่องจากมนุษย์ (Human errors) เช่น ผลที่ได้จากการทดสอบ หรือ ขั้นตอนการทำงานของแต่ละกะบางทีก็มีความแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาด เกิดความเข้าใจผิด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อทำการทดสอบหาสิ่งข้อผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

ข้อที่หก: อุปกรณ์การวิเคราะห์ยังเป็นแบบออฟไลน์

ระบบการเก็บตัวอย่างยังใช้คน จึงขึ้นอยู่กับทักษะความแม่นยำ (Accuracy) และความสามารถในการทำซ้ำ (Repeatability) ของผู้ดำเนินงาน  การวิเคราะห์ตัวอย่างที่ขึ้นกับจังหวะเวลาในการเก็บ ก็มีโอกาสที่จะผิดผลาดในเรื่องของเวลาในการเก็บตัวอย่างหรือแม้กระทั่งการติดฉลากผิด  ถึงแม้ว่าบางหน่วยกระบวนการมีการติดตั้งเครื่องวิเคราะห์ไว้ในหน่วย ก็มักจะมีความผิดพลาดเนื่องจากความละเลยในการดูแล เช่น ไม่มีคาบเวลาในการการสอบเทียบเครื่องวิเคราะห์

ข้อที่เจ็ด: การหาสาเหตุของปัญหาของอุปกรณ์ยังคงขึ้นอยุ่กับประสบกรณ์ของผู้ดำเนินงาน

ปัญหาทั่วไปของการตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขของอุปกรณ์ที่มีปัญหา (Troubleshooting) ในโรงงานนำร่อง ก็คือไม่มีการทำการตรวจสอบแก้ไขอย่างเป็นระบบ (Systematic troubleshooting)  หลายๆ ครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการทดสอบ ผู้ดูแลแต่ละหน่วยมีผลการวิเคราะห์การเกิดขึ้นของปัญหา การอธิบาย และการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยเป็นไปตามประสบการ์ณของผู้ดูแลเหล่านั้น มากกว่าที่จะได้จากการมองภาพรวมเป็นระบบเดียวกัน

ข้อที่แปด: ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยยังมีความจำกัด

ระบบความปลอดภัยนั้นมีความสำคัญมากแม้แต่ในโรงงานนำร่อง แม้กระนั้นข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต้องถูกใช้ในการประเมินความปลอดภัย (Risk assessment) มักยังมีจำกัด  นอกจากนั้น ระบบความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือได้นั้นจำเป็นต้องถูกเชิ่อมต่อเข้าระบบควบคุมเพื่อความปลอดภัยในกรณีเกิดเหตุ  แต่ ณ ช่วงนั้นระบบความปลอดภัยยังถูกบังคับให้ไม่ขึ้นกับระบบควบคุมอัตโนมัติ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆอย่างในเชิงอิมพีแดนซ์ (Impedance limitations) ของระบบอนาล็อก (Analog systems)


ABOUT THE AUTHOR

บำรุง สูงเนิน

Content Leader ของสมาคม TIChE

Publications

Post navigation

prev article
next article
© 2019 TIChE. All rights reserved.