โดย บำรุง สูงเนิน
HIGHLIGHTS
- เป้าหมายที่จับต้องได้เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี ต้องถูกทำขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกของโปรเจ๊ก
- การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสมควรถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ
- ผลลัพธ์ที่ได้จะบ่งบอกแนวโน้มของหนทางที่ถูกต้องและสามารถลดขนาดของหุบเขาเแห่งความตายได้
ก้าวที่หนึ่ง: กำหนดโจทย์และเป้าหมายที่จับต้องได้
เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าโปรเจ๊กที่กำลังถูกพัฒนามีโอกาสสำเร็จสูงขึ้น การกำหนดโจทย์และเป้าหมายที่จับต้องได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของโปรเจ๊กนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยปกติแล้วเป้าหมายจะถูกกำหนดในเชิงรูปแบบของกำไรหรือรายได้กลับเข้าสู่องค์กร จุดที่สำคัญคือ เราจำเป็นต้องแปรความผลกำไรให้นำไปสู่เป้าหมายในเชิงปริมาณที่ระบุและวัดได้ เช่น เงินลงทุนมากสุดที่เป็นไปได้ เป็นต้น เพื่อสร้างกรอบที่ชัดเจนในขั้นตอนต่อไป
ก้าวที่สอง: วิเคราะห์ความอ่อนไหว
หลักจากกำหนดกรอบอย่างชัดเจนในข้อแรก การนำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity analysis) มาประยุกต์ใช้จะทำให้สามารถระบุถึงพื้นที่ความเป็นไปได้เพื่อที่ทำให้โปรเจ๊กมีความสำเร็จ โดยขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการเป็นจุดเริ่มต้น และใช้ข้อมูลเชิงวิศวกรรมที่มีความเชื่อมั่นเพียงพอร่วมในการวิเคราะห์ เช่น การออกแบบที่สามารถใช้งานได้ในระดับโรงงานพาณิชย์
ก้าวที่สุดท้าย: ผลลัพท์ทั้งหมดที่เป็นไปได้เพื่อที่ทำให้โปรเจ๊กสำเร็จ
ผลลัพท์สุดท้ายเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยกำหนดกรอบอย่างชัดเจนว่าในช่วงเริ่มแรกของโปรเจ๊กลักษณะความเป็นไปได้ควรจะแสดงผลออกมาในแนวทางใด ลงทุนในลักษณะไหน ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในแต่ละขั้นตอน
ตัวอย่างกรณีศึกษา: การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา
เราสามารถจะกำหนดลักษณะสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์โดยอาศัยการผ่านกระบวนการข้างต้นได้ดังนี้ ก้าวแรกทางนักวิจัยทำการสกรีนหาความเป็นไปได้เบื้องต้นของลักษณะสมบัติตัวเร่งปฏิกิริยาในระดับห้องปฏิบัติการ ควบคู่กับทีมงานที่กำหนดทิศทางธุรกิจตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมขยายขนาดถึงโรงงานพาณิชย์ จากนั้นนำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวมาใช้เพื่อหาเงื่อนไขความเป็นไปได้ต่างๆโดยที่โครงการยังอยู่ในกรอบของเงินลงทุนเพื่อให้การพัฒนาได้กำไรที่น่าพอใจคืนสู่บริษัท สุดท้ายผลที่ออกมาได้คือลักษณะสมบัติที่เป็นไปได้ของตัวเร่งปฏิกิริยาในเชิงเคมี เชิงกายภาพ ในระดับโรงงานพาณิชย์จะถูกกำหนดและส่งกลับไปกำหนดกรอบความเป็นไปได้ในขณะที่ทำการพัฒนาระดับห้องปฏิบัติการ
ABOUT THE AUTHOR
บำรุง สูงเนิน
Content Leader ของสมาคม TIChE
อ้างอิง (Reference)
- https://www.linkedin.com/pulse/how-conquer-loop-death-valley-bamrung-sungnoen/
- Bamrung S., et al., “Speed Up the Development of New Commercial Adsorbent – Part 1”, April 2018, Hydrocarbon Processing Magazine (US).
- Bamrung S., et al., “Speed Up the Development of New Commercial Adsorbent – Part 2”, May 2018, Hydrocarbon Processing Magazine (US)