ผมเจอผู้รับเหมาที่ไม่รู้หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องนี้มาเยอะแล้ว วิศวกรตัวจริงต้องรู้ทัน จำไว้!! รบกวนช่วยกันแชร์ต่อเพือความปลอดภัยของเพื่อนๆวิศวกรด้วยครับ
1) Pressure test จะทำเมื่อเวลามีการเชื่อมใหม่ที่อุปกรณ์ เราจึงต้องทดสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อมด้วยการทดสอบแรงดัน โดยอาจใช้น้ำหรือลมอัดก็ได้ (ควบคู่กับ non-destructive testing อื่นๆ เช่น Radiographic Test หรือ X-ray)
แต่ถ้าคุณแค่ถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกแล้วมาประกอบใหม่ด้วยข้อต่อหรือหน้าแปลน คุณก็แค่ทำการทดสอบการรั่วหลังการประกอบด้วยลมอัดและ snoop liquid ที่ความดันประมาณนึงก็พอ เช่น 7-8 barg ถ้าสารไม่อันตราย หรือ 0.9 – 1.1 เท่าของ max operating pressure ก็พอ ไม่ต้องใช้ Max Allowable Working Pressure (MAWP) or design pressure
2) การทดสอบด้วยน้ำหรือของเหลว ปลอดภัยกว่าการใช้ลมอัดมาก ดังนั้นควรเลือกใช้น้ำก่อนลมอัดเสมอ ยกเว้นบางระบบที่ถ้าเอาน้ำออกไม่หมดจะเป็นปัญหา เช่นระบบ cryogenic เป็นต้น คนส่วนใหญ่คิดว่าลมอัดง่ายกว่า แต่ถ้าคุณเคยลองคำนวณแรงระเบิดจากลมอัดแบบผม คุณจะรู้ว่าคุณกำลังเล่นกับระเบิดดีๆนี่เอง ตูม!!!
3) คุณต้องกำหนด test pressure ตาม ASME Boiler & Pressure Vessel code Sect VIII Div.1 UG-99 ซึ่งตั้งแต่ปี 2001 เปลี่ยนมากำหนดให้ทดสอบแรงดันด้วยน้ำ (hydrotest) ที่ 1.3 เท่าของ design pressure แทนที่จะเป็น 1.5 เหมือนแต่ก่อน แต่ถ้าทดสอบแรงดันด้วยลมอัด (pneumatic test) ต้องเป็นแค่ 1.1 เท่าของ design pressure เท่านั้น และจะมีสเต็ปการขึ้นแรงดันเพื่อความปลอดภัย จำไว้!! แต่ถ้าเป็น Process Piping คุณต้องดูใน ASME B31.3 Paragraph 345.4.2 และ 345.5.4 ซึ่งกำหนดไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของ design pressure ถ้าใช้น้ำหรือของเหลว และ 1.1 เท่าถ้าใช้ลมอัด
Test pressure for hydrotest
= 1.3 x (MAWP or design pressure) ตาม ASME BPV Code from 2001-Present
= 1.5 x (MAWP or design pressure) ตาม ASME BPV Code before 2001
= 1.5 x (MAWP or design pressure) ตาม ASME B31.3
Test pressure for pneumatic test
= 1.1 x (MAWP or design pressure) ตาม ASME BPV code
= 1.1 x (MAWP or design pressure) ตาม ASME B31.3
4) ในกรณีที่ max op. temperature > test temperature มากๆ คุณต้องเพิ่ม test pressure มากกว่าข้อ 3 อีก โดยใช้ stress value ratio มาปรับค่า test pressure
Corrected test pressure = Test pressure x (S”/ S)
S” = stress value at test temperature, S = stress value at max op. temperature ดูค่าได้จาก ASME BPV code Sect II Part D, ASME B31.3 Appendix
ถ้าอยากได้ความรู้วิศวะดีๆ ต่อจากนี้ลองไปดูใน www.tiche.org เราจะนำบทความดีๆไปใส่ไว้ครับ
อ้างอิง (Reference)
ABOUT THE AUTHOR
วิรุฬห์ ตัณฑะพานิชกุล
ที่ปรึกษาสมาคม TIChE