HIGHLIGHTS
- การลงทุนการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการจนถึงโรงงานสาถิตอาจจะยังมีความจำเป็นในการทำเทคโนโลยีใหม่
- จุดสำคัญที่หลีกเลี่ยงยากของการพัฒนาเทคโนโลยีคือ “หุบเขาแห่งความตาย”
- เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง “หุบเขาแห่งความตายได้” แต่เราสามารถทำให้มัน “น้อยลง” ได้
กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีโดยทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม
ในหลายๆปีที่ผ่านมา บริษัทที่พยายามผันตัวเองจากผู้นำเข้าเทคโนโลยีมาเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปนั้น เกิดขึ้นมากมายแม้ในประเทศไทย ในหลายๆอุตสาหกรรมที่พยายามประยุกต์ใช้วิธีการต่างๆ เช่น การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี เพื่อลดต้นทุนหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ปกติแล้วกระบวนการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมถูกเริ่มในงานวิจัยโดยถูกทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory-scale experiment) ซึ่งมีความคล่องตัวและอิสระสูง (High freedom of design) ในการปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อหาวิธีการเบื้องต้น (Screening) ในการดำเนินงานใหม่ๆ เช่น สูตรของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่ที่เป็นไปได้ (Possible catalyst recipes) หรือ สภาพหรือเงื่อนไขใหม่ที่เป็นไปได้ (Possible operating conditions) อีกทั้งยังมีการลงทุนที่ต่ำ (Low accumulative investment)
หลังจากผ่านการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ งานวิจัยจะถูกส่งต่อไปยังโรงงานนำร่อง (Pilot plant) หรือโรงงานสาธิต (Demonstration plant) เพื่อจำลองลักษณะและวิธีการที่สำคัญต่างๆให้มีความใกล้เคียงการผลิตในระดับโรงงานพาณิชย์ (Commercial-scale plant) เพื่อนำข้อมูลที่มีความเชื่อถือถูกส่งต่อไปใช้ในการทำการ หรือปรับปรุงโรงงานระดับพาณิชย์ ออกแบบ (Commercial unit package)
หุบเขาแห่งความตาย ยิ่งทำเท่าไหร่ยิ่งลึก
ค่าใช้จ่ายสะสมในการทำเทคโนโลยีใหม่เพิ่มสูงขึ้น ทุกครั้งๆที่มีการลงทุนในโรงงานจำลองหรือโรงงานสาธิตเพื่อทำการเพิ่มระดับความมั่นใจในการออกแบบหรือปรับปรุงโรงงานระดับพาณิชย์ เมื่อเทคโนโลยีที่มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถนำมาใช้จริงในระดับโรงงานพาณิชย์ รายได้ที่เกิดจากการขายหรือการดำเนินงานจะตีกลับจนถึงจุดที่เริ่มคืนทุน จุดวกกลับจากค่าใช้จ่ายสะสมเป็นรายได้ถูกเรียกว่า “ก้นของหุบเขาแห่งความตาย” โดยหุบเขาแห่งความตายเป็นตัวตัดสินว่าโปรเจ๊กที่เกิดขึ้นใหม่ต่างๆ จะรอดหรือไม่
จากภาพข้างต้นความลึกและกว้างของหุบเขาเป็นตัวแทนของค่าใช้จ่ายสะสมในการทำเทคโนโลยี โดยสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดความลึกขึ้นกว่าเดิมเกิดจาก
- โปรเจ๊กมีความล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น
- มีการทำงานชนิดเดียวกันซ้ำซ้อน
- มีการทำงานแบบวนซ้ำเกินความจำเป็น
พิชิตหุบเขา
ในการทำงานสร้างเทคโนโลยีใหม่เป็นไปได้ยากมากที่เราสามารถจะเลี่ยงหุบเขาแห่งความตายได้ ทางที่ดีที่สุดคือการทำให้ความลึกและความกว้างของหุบเขาน้อยลง การที่จะลดขนาดของหุบเขานั้นสิ่งที่จำเป็นต้องถูกทำก่อโดยการกำหนดเป้าหมายว่าโปรเจ๊กจะคืนทุนเมื่อไหร่โดยใช้ตัววัดทางต่างๆ เช่น EBITDA เป็นต้น
หลังจากเป้าหมายถูกกำหนดอย่างชัดเจน ค่าใช้จ่ายของทั้งโปรเจ๊กสามารถถูกประเมินเบื้องต้น และยังถูกใช้เพื่อตีกรอบของไอเดียหรือระบุลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ในระดับห้องปฏิบัติการ ลดการทำงานวนซ้ำ ซ้ำซ้อน และเกินความจำเป็น
อ้างอิง (Reference)
- https://www.linkedin.com/pulse/death-valley-brand-new-technology-development-bamrung-sungnoen/
- Bamrung S., et al., “Speed Up the Development of New Commercial Adsorbent – Part 1”, April 2018, Hydrocarbon Processing Magazine (US).
- Bamrung S., et al., “Speed Up the Development of New Commercial Adsorbent – Part 2”, May 2018, Hydrocarbon Processing Magazine (US)