โดย Nattapong Pongboot
HIGHLIGHTS
- ในกรณีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เข้าไปในระบบเดิม วิศวกรสามารถตรวจสอบ Hydraulic Availability ได้ง่ายๆ โดยใช้เพียงแค่ข้อมูลด้านการผลิตของโรงงานและสมการการไหลพื้นฐาน
การควบคุมอัตราการไหล (Flow Rate) และ Control Valve
โดยทั่วๆไปอัตราการไหลในโรงงานจะถูกควบคุมโดย Control Valve ดังแสดงในภาพที่ 1 ซึ่ง%Travel ของ Control Valve ควรจะอยู่ระหว่าง 20-80% เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Control Valve สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงานง่ายๆคือ ถ้าระบบมีความดันตกคร่อม (pressure drop) ที่เพิ่มขึ้น เช่น ท่อเกิดสนิมหรือมีสิ่งอุดตันจนทำให้พื้นที่หน้าตัดการไหลลดลง จะทำให้ Control Valve เปิดเพิ่ม %Travel เพื่อชดเชยกับความดันตกคร่อมของระบบที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าอัตราการไหลมีค่าเท่ากับเป้าหมายคือค่า Set Point ของ Flow Controller (FC) ในภาพที่ 1 ในทางตรงกันข้าม Control Valve จะหรี่ในกรณีที่ระบบมีความดันตกคร่อมที่ลดลง เช่น ท่อเกิดการสึกกร่อนจนทำให้พื้นที่หน้าตัดการไหลเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้อัตราการไหลเท่าเดิม
วิธีการตรวจสอบ Hydraulic Availability อย่างง่ายๆ
ถ้าเราต้องติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เช่น เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) หรือตัวกรอง (Filter) เพิ่มเข้าไปในระบบเดิมล่ะ แน่นอนว่าความดันตกคร่อมของระบบจะต้องเพิ่มขึ้นและทำให้ Control Valve เดิมต้องเปิดเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย แต่เราจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไร ว่าระบบเดิมของเรายังทำงานได้ตามปกติ ผู้เขียนมีวิธีการง่ายๆที่ทดลองใช้จริงกับหลายโครงการมาแล้วดังนี้
ให้ทำการทดสอบระบบ ณ อัตราการไหลที่ต้องการ (Qrevamp) แล้วทำการบันทึกค่า %Travelbase ของ Control Valve ไว้ โดยวิศวกรโรงงานสามารถนำค่า %Travel ไปหาค่าสัมประสิทธ์ของ Control Valve หรือ Cv,base ได้จากเอกสารของผู้ผลิต เช่น Catalog 12 ของ Fisher ดังแสดงในภาพที่ 2
2. หาค่าความดันตกคร่อม Control Valve ∆Pbase หรือ จากสมการด้านล่าง
โดย
Qrevamp คือ อัตราการไหลณจุดที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรจะเป็นจุดเดียวกับที่ออกแบบ
S.G. คือ ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) ของของเหลว
3. เมื่อได้ ∆Pbase จากข้อที่ 2 แล้ว ให้นำค่าความดันตกคร่อมที่ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ใหม่ ∆Pnew equipment เช่น 1.5 bar ไปหักจาก ∆Pbase เดิมตามสมการด้านล่าง เพื่อให้ได้ค่าความดันคร่อม Control Valve ณ จุดออกแบบใหม่ (∆Prevamp )
∆Prevamp = ∆Pbase – ∆Pnew equipment
4. คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ของ Control Valve ณ จุดออกแบบใหม่ (Cv,revamp ) ดังสมการด้านล่าง
5. นำค่า Cv,revamp ไปหาค่า %Travel ณ จุดออกแบบใหม่ดังแสดงในรูปที่ 2 โดย %Travelrevamp ไม่ควรมีค่าสูงกว่า 80%
ข้อดีของวิธีนี้คือวิศวกรไม่ต้องเสียเวลาไปกับการรวบรวมเอกสาร เช่น Isometric Drawing หรือ Pump Curve และการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน และยังช่วยลดข้อผิดพลาดจากการใช้การคำนวณทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียวได้อีกด้วย
ทางผู้เขียนยังมีเทคนิคดีๆที่ลดเวลาการคำนวณและออกแบบระบบการไหลจากวิธีการทั่วๆไปได้หลายเท่า ผู้อ่านสามารถติดตามผลงานของผู้เขียนเพิ่มเติมได้ในวารสาร Chemical Engineering Magazine ฉบับเดือนธันวาคม 2021 ที่กำลังจะมาถึงนี้ครับ
ABOUT THE AUTHOR
Nattapong Pongboot
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอิสระ ผู้เขียนมีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี กับบริษัทชั้นน้ำทั้งในไทยและต่างประเทศ และยังเป็นวิทยากรให้กับ http://www.chemengedu.com/