Logo
  • About US
    • Home
    • Student Chapter
    • Contact
    • Annual Report
  • Membership
    • Member Benefits
    • Corperate
  • Events
    • Upcoming Event
    • Past Event
      • TIChE
        • TIChE2022
        • TIChE 2023
        • TIChE 2024
        • TIChE2025
      • TNChE
        • TNChE2022
        • TNChE2023
        • TNChE2024
        • TNChE2025
    • News & Announcement
      • Design Competition
      • Innovation Idea Challenge
  • Communities
  • Knowledge Center
    • TIChE Credential
    • Academy
    • Articles
  • TIChE Awards
    • TIChE Award 2568
    • Hall of Fame
    • Award
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

Fire Engineering for Styrene Monomer

โดย ทะเล เพชรรัตน์ จากเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ซึ่งนั่นก็คือเหตุการณ์การรั่วไหลของสารเคมี และเกิดการระเบิดขึ้นที่โรงงานของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัดนั้น โดยเหตุการณ์เริ่มต้นประมานตี 3 ของวันที่ 5 ก.ค. 2564 โดยปรากฏภาพในโลกโซเชี่ยลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคลิปบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดจากที่เกิดเหตุ หรือแม้กระทั่งภาพควันไฟที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ามาตั้งแต่ช่วงเช้า และ ภาพของผู้คนที่อพยพออกจากที่เกิดเหตุจนเกิดเหตุการณ์รถติดบนท้องถนนอย่างหนักหน่วง ต้องยอมรับว่าในภาวะของวิกฤตโควิด 19 ที่กำลังรุมเร้าประชาชนชาวไทยจนเกิดอาการที่เรียกว่า นักมวยที่กำลังโดนต่อยเข้ามุม พอมาเจอเหตุการณ์นี้เข้าไป ก็แทบจะเรียกได้เลยว่า น่าจะเป็นหมัดที่ทำให้คนไทย แทบจะต้องล้มลงไปนอนให้กรรมการนับกันเลยทีเดียว ผมในฐานะแอดมินของเพจ สาระวิดวะกับนายทะเล ต้องขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกท่าน ขอให้ทุกคนปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และเชื่อลึกๆว่า พลังของคนไทย จะช่วยกันทำให้พวกเรากลับมายืนหยัดอย่างแข็งแกร่งได้อีกแน่นอน วันนี้ผมอยากจะมาชวนทุกท่านคุยกันถึงเหตุการณ์นี้ในมุมของวิศวะความปลอดภัยกันบ้าง เนื่องจากภาพข่าวที่ออกในช่วงบ่ายจนถึงเย็น เราจะเริ่มเห็นข่าวว่ามีการใช้เฮลิคอปเตอร์บินเพื่อไปโปรยสารโฟมสำหรับดับไฟ หรือแม้กระทั่งภาพที่หน่วยงานจากทาง NPC S&E นั้นได้นำเอาหุ่นยนตร์ดับเพลิงเข้าไปใช้ช่วยในการดับไฟ แต่แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้เลย เรามาวิเคราะห์กันสักหน่อยว่าทำไมไฟมันถึงดับยากดับเย็นนัก อนึ่ง ถ้าคนเคยเรียนเกี่ยวกับ Fire Engineering มา ทุกคนคงทราบเป็นอย่างดีว่า ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงประเภท Class B หรือไฟจากสาร Hydrocarbon หรือน้ำมันเชื้อแพลิงนั้น จะไม่สามารถใช้น้ำดับได้ โดยหลักการทั่วไปในการออกแบบคือ […]

การดำเนินการที่เหมาะสุดของกระบวนการเคมี: (ตอนที่ 2: การควบคุมค่าที่ขอบเขตของข้อจำกัดแบบไม่เท่าเทียม)
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

การดำเนินการที่เหมาะสุดของกระบวนการเคมี: (ตอนที่ 2: การควบคุมค่าที่ขอบเขตของข้อจำกัดแบบไม่เท่าเทียม)

โดย วีรยุทธ เลิศบำรุงสุข HIGHLIGHTS Active inequality constraints คือข้อจำกัดแบบไม่เท่าเทียมที่ค่าคำตอบเหมาะสุดเกิดขึ้น บ่อยครั้งการดำเนินการที่เหมาะสุดจะนำไปสู่การควบคุมระบบไว้ที่ active inequality constraints สภาวะดำเนินการที่เหมาะสุดและการควบคุมค่าที่ขอบเขตของข้อจำกัด (Optimal operating condition and active constraint control) บ่อยครั้งการดำเนินการในกระบวนการ มักจะมีทางเลือกของสภาวะดำเนินการ (operating condition) ที่เป็นไปได้หลายทางเลือก การเลือกการดำเนินการที่เหมาะสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนหรือเพิ่มกำไรในการผลิต โดยทั่วไปการดำเนินการที่เหมาะสุดจะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหาค่าเหมาะสุดแบบออนไลน์ (online optimization) โดยความถี่ในการหาค่าเหมาะสุดซ้ำ (reoptimization) นั้นจะขึ้นกับสเกลเวลา (time scale) หรือความถี่(ความรวดเร็ว)ของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรบกวนของกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ในบางปัญหาที่มีความเป็นเชิงเส้น (linear) หรือความไม่เชิงเส้นน้อย (mildly nonlinear) จะพบว่าการดำเนินการที่เหมาะสุดมักจะเกิดขึ้นที่ขอบเขตของเฉพาะบางข้อจำกัดแบบไม่เท่าเทียม (active inequality constraints) ซึ่งหมายความว่าหากสามารถควบคุมระบบให้อยู่ที่ขอบเขตของข้อจำกัดแบบไม่เท่าเทียมดังกล่าว (active inequality constraints) ได้ ก็จะได้สภาวะการดำเนินการที่เหมาะสุดนั่นเอง  อนึ่ง ในโลกความเป็นจริงระบบจะต้องอยู่บนข้อจำกัดแบบเท่าเทียม (active equality constraints) […]

4 เคล็ดลับ ทดสอบแรงดันอุปกรณ์ไม่ผิดตลอดชีวิต (Pressure Test) แต่ระวังผู้รับเหมาอาจหมั่นไส้คุณได้!!
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

4 เคล็ดลับ ทดสอบแรงดันอุปกรณ์ไม่ผิดตลอดชีวิต (Pressure Test) แต่ระวังผู้รับเหมาอาจหมั่นไส้คุณได้!!

โดย วิรุฬห์ ตัณฑะพานิชกุล HIGHLIGHTS Pressure Test จะทำเมื่อเวลามีการเชื่อมใหม่ที่อุปกรณ์ มีไว้ทดสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อม หลังจากการตรวจสอบรอยเชื่อมเบื้องต้นด้วย Non-Destructive Testing (NDT) Pressure Test ต่างจาก Leak Test/Tightness Test เพราะอย่างหลังคือการทดสอบการประกอบว่าไม่มีจุดไหนขันไม่แน่นประกบหน้าแปลนไม่ดี หรือมีรั่วซึม แต่ไม่ใช่การทดสอบความแข็งแรงรอยเชื่อม ในกรณีที่ Max Operating Temperature มีค่าสูงกว่าอุณหภูมิทดสอบ (Test Temperature) มากๆ จะต้องมีการปรับค่า Test Pressure ด้วย Allowable Stress Ratio เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทนแรงดันที่อุณหภูมิสูงได้จริง ผมเจอผู้รับเหมาที่ไม่รู้หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องนี้มาเยอะแล้ว วิศวกรตัวจริงต้องรู้ทัน จำไว้!! รบกวนช่วยกันแชร์ต่อเพือความปลอดภัยของเพื่อนๆวิศวกรด้วยครับ 1) Pressure test จะทำเมื่อเวลามีการเชื่อมใหม่ที่อุปกรณ์ เราจึงต้องทดสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อมด้วยการทดสอบแรงดัน โดยอาจใช้น้ำหรือลมอัดก็ได้ (ควบคู่กับ non-destructive testing อื่นๆ เช่น Radiographic Test หรือ […]

  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

ประเทศไทยกับมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงยานยนต์ใหม่ เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดย Nattapong Pongboot HIGHLIGHTS ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์อีกครั้งในปี 2024 นี้ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ที่ได้มาตรฐานใหม่นี้จะทำให้รถยนต์ ปลดปล่อยมลพิษ รวมทั้งฝุ่นละอองและสารก่อมลพิษอื่นๆ น้อยลง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ โดยปกติแล้วน้ำมันเบนซิน หรืออีกชื่อหนึ่งคือแก๊ซโซลีน (Gasoline) และดีเซล (Diesel) ที่ใช้กันตามท้องถนนทั่วไปจะต้องมีคุณสมบัติที่ได้ตามมาตรฐานของประเทศนั้นๆ ซึ่งในบริบทของประเทศไทย มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือมาตรฐานของสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานที่ใช้อยู่คือยูโร 4 (Euro IV) ซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2011 โดยทั่วๆไปแล้ว ข้อกำหนดด้านคุณสมบัตินั้นจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีอัตราการปลดปล่อยมลพิษหลังการเผาไหม้ที่ต่ำ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง (Particulate Matter, PM) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide, CO) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon, HC) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญมากๆก็คือสารประกอบจำพวกซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Oxide, SOx) และสารประกอบจำพวกไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxide, NOx) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดฝนกรดในชั้นบรรยากาศได้ตามภาพที่ 1 โดยมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็มีข้อกำหนดด้านคุณลักษณะที่สำคัญคือ […]

  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

การดำเนินการที่เหมาะสุดของกระบวนการเคมี: (ตอนที่ 1: แนวคิดการหาค่าเหมาะสุด)

โดย วีรยุทธ เลิศบำรุงสุข HIGHLIGHTS คำตอบปัญหาการหาค่าเหมาะสุดเกิดได้ 2 แบบคือเกิดที่ตำแหน่งหลุมหรือยอดบนของฟังก์ชันวัตถุประสงค์หรือที่ขอบเขตของข้อจำกัด (constraints) Active constraints คือข้อจำกัดอันที่ค่าคำตอบเหมาะสุดเกิดขึ้น ราคาพลังงานและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมองหาแนวทางเพื่อลดต้นทุนการผลิต หนทางหนึ่งที่ช่วยได้ คือการทำให้โรงงานหรือกระบวนการมีการดำเนินการที่เหมาะสุด (optimal operation) บทความนี้มุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงแนวคิดการดำเนินการที่เหมาะสุดของกระบวนการ และชี้ให้เห็นว่า บ่อยครั้งการดำเนินการที่เหมาะสุดสามารถได้มาโดยการรักษาระบบให้อยู่ที่ขอบเขตของข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับปัญหาการหาค่าเหมาะสุด (optimization) นั้นๆ และสาธิตการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวผ่านตัวอย่างปัญหาอย่างง่าย ในตอนที่ 1 นี้จะขอแนะนำแนวคิดพื้นฐานของปัญหาการหาค่าที่เหมาะสุดก่อน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญก่อนที่จะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาการดำเนินการที่เหมาะสุดของกระบวนการในตอนที่ 2 แนวคิดการหาค่าที่เหมาะสุด ในทางคณิตศาสตร์ การหาค่าที่เหมาะสุดจะเกี่ยวข้องกับการหาคำตอบของตัวแปร x ที่ทำให้ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (objective function, f) มีค่าสูงสุดหรือต่ำสุดภายใต้ข้อจำกัด (constraint) ของคำตอบที่เป็นไปได้ (feasible solution) ซึ่งประกอบด้วยข้อจำกัดเท่าเทียม (equality constraint, h) ข้อจำกัดไม่เท่าเทียม (inequality constraint, g) ขีดจำกัดล่าง (lower bound, lb) และขีดจำกัดบน (upper […]

ทำไมในโรงงานชอบมีการควบคุมระดับของเหลว (LEVEL CONTROL) ให้นิ่งในกระบวนการผลิต และการกำหนด HLL, NLL, LLL นั้นสำคัญไฉน?
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

ทำไมในโรงงานชอบมีการควบคุมระดับของเหลว (LEVEL CONTROL) ให้นิ่งในกระบวนการผลิต และการกำหนด HLL, NLL, LLL นั้นสำคัญไฉน?

โดย วิรุฬห์ ตัณฑะพานิชกุล HIGHLIGHTS Level Control ในโรงงาน ไม่ได้มีไว้แค่ ป้องกัน pump ที่ต่อจาก drum ไม่ให้เสียหาย Level มีไว้เพื่อการควบคุมกระบวนการให้อยู่ที่สภาวะ Material Balance เข้าเท่ากับออก หรือ Steady State ระดับของเหลว HLL, NLL, LLL ใน P&ID และ Datasheet มีความหมายสำคัญในการออกแบบโรงงาน ถ้าคุณลองเอากระบวนการผลิตของคุณมาดู เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมแทบทุกที่ถึงต้องมีการควบคุม level ให้นิ่ง เช่น ส่วนล่างหอกลั่น reflux drum หรือแม้แต่ตาม liquid knock-out drum หรือ drain drum ต่างๆ 1. วิศวกรบางคนจะเข้าใจว่าเราต้องการคุม level เพื่อให้ pump ที่ต่อจาก drum มีแรงดัน […]

Well-Mixed System? Lumped or Distributed Parameter Systems
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

Well-Mixed System? Lumped or Distributed Parameter Systems

โดย วีรยุทธ เลิศบำรุงสุข HIGHLIGHTS ระบบที่มีการผสมกันอย่างสมบูรณ์เรียกได้เป็นระบบพารามิเตอร์แบบก้อน ระบบพารามิเตอร์แบบกระจายจะมีค่าของตัวแปรที่ขึ้นกับตำแหน่ง บทความที่แล้วได้พูดถึงความหมายของสถานะคงตัวและสถานะไม่คงตัว ซึ่งกำหนดจากสมมติฐานว่าระบบอยู่ที่สถานะคงตัวหรือไม่ หรือสิ่งที่สนใจเปลี่ยนแปลงตามเวลาหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาทบทวนความหมายของอีกหนึ่งสมมติฐานที่นิยมใช้กัน นั่นคือสมมติฐานที่กำหนดให้ระบบมีการผสมกันอย่างสมบูรณ์ (well-mixed system) ซึ่งส่งผลว่าสิ่งที่สนใจจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นระบบพารามิเตอร์แบบก้อน (lumped parameter system) หรือระบบพารามิเตอร์แบบกระจาย (distributed parameter system) ระบบพารามิเตอร์แบบก้อน (Lumped parameter system) ในทางวิศวกรรมเคมี การผสมสารนับเป็นปฏิบัติการสำคัญเพื่อให้สารในระบบมีความเป็นเนื้อเดียวกัน หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือมีคุณสมบัติเดียวกันทั้งระบบ เพื่อให้เห็นภาพ ลองพิจารณาระบบถังผสมดังรูปที่ 1 ที่ประกอบด้วยสายป้อนสายที่ 1 ที่มีค่าอุณหภูมิ T1 และสายป้อนสายที่ 2 ที่มีค่าอุณหภูมิ T2 เนื่องจากถังผสมมีการติดตั้งใบกวน และถ้ามีการออกแบบได้ดีพอ จะสามารถสมมติได้ว่าเมื่อสายป้อนที่ 1 และ 2 เข้าสู่ถังกวน จะถูกผสมรวมกับสารในถังผสมทันทีเป็นเนื้อเดียวกัน ส่งผลให้สารภายในถังตลอดจนที่ตำแหน่งขาออกมีค่าอุณหภูมิ T เหมือนกันทั้งถัง หรือถ้ากล่าวให้ชัดขึ้นก็คือ ค่าอุณหภูมิของสารจะไม่ขึ้นกับตำแหน่งในระบบ และค่าอุณหภูมิ T […]

เอ๊ะยังไง? Steam Turbine ยิ่งใช้ไอน้ำน้อย ยิ่งมีประสิทธิภาพด้านความร้อนต่ำสุด!! 3 เคล็ดลับ เลือกใช้ Steam Turbine ไม่พลาดตลอดชีวิต!!
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

เอ๊ะยังไง? Steam Turbine ยิ่งใช้ไอน้ำน้อย ยิ่งมีประสิทธิภาพด้านความร้อนต่ำสุด!! 3 เคล็ดลับ เลือกใช้ Steam Turbine ไม่พลาดตลอดชีวิต!!

โดย วิรุฬห์ ตัณฑะพานิชกุล HIGHLIGHTS Steam Turbine ใช้ขับปั๊มและคอมเพรสเซอร์แทนมอเตอร์ไฟฟ้าได้เพื่อช่วยเรื่อง Plant Reliability รันโรงงานต่อเนื่องได้ช่วงเกิดไฟดับ Condensing Turbine ให้งานต่อตันไอน้ำมากสุด แต่ประสิทธิภาพไม่ดี เพราะสูญเสียพลังงานความร้อนไปกับน้ำหล่อเย็นที่ Surface Condenser ถึงมากกว่า 70% Condensing Turbine ขาออก จะเป็น Two-Phase ไม่ใช่ไอน้ำอย่างเดียว ทำให้ได้พลังงานต่อตันสูงขึ้น แต่ส่งผลเสียในแง่ Erosion รู้ไหมว่า Steam Turbine หรือกังหันไอน้ำ ไม่ได้มีแค่ในโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ แต่แทบทุกโรงงานใหญ่ๆในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีก็มี Steam Turbine ใช้ในการขับปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์ จึงอยากให้วิศวกรในไทยได้เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้มากขึ้น!! 1) วิศวกรหลายคนไม่ทราบว่าทำไมถึงเลือกใช้ Steam Turbine ขับปั๊มและคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าสะดวกกว่า สตาร์ทอัพง่ายกว่า เงินลงทุนและค่าดำเนินการของมอเตอร์ไฟฟ้าอาจจะราคาถูกกว่าด้วยซ้ำ สาเหตุที่ต้องมี Steam Turbine ก็เพราะว่าต้องการ Plant Reliability หรือยังสามารถรันโรงงานได้ต่อเนื่องอีกระยะนึง เวลาเกิดไฟดับ (Power […]

เลขซีเทน (Cetane Number) ของน้ำมันดีเซล มีความสัมพันธ์ยังไงกับเครื่องยนต์ และกระบวนการกลั่นน้ำมัน
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

เลขซีเทน (Cetane Number) ของน้ำมันดีเซล มีความสัมพันธ์ยังไงกับเครื่องยนต์ และกระบวนการกลั่นน้ำมัน

โดย Nattapong Pongboot HIGHLIGHTS เลขซีเทนที่ต่างกันมีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล กระบวนการเพิ่มเลขซีเทนสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลให้ดีพอที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เลขซีเทนและหลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปนั้นเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ โดยเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือน้ำมันดีเซล ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง โดยขั้นตอนการทำงานของเครื่องยนดีเซลประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ (ที่มา Britannica.com) 1) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลง อากาศที่จะถูกดึงเข้ามาในห้องเผาไหม้ เนื่องจากความดันของห้องเผาไหม้จะลดลง จากการขยายตัวของลูกสูบ2) อากาศจะถูกบีบอัดเพื่อให้มีอุณหภูมิและความดันสูงขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการจุดระเบิด โดยอากาศจะถูกบีบอัดด้วยอัตราส่วนการบีบอัด (Compression Ratio) 14:1 ถึง 22:1 โดยมีอุณหภูมิอากาศสูงกว่า 526 องศาเซลเซียส3) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นถึงจุดสูงสุด น้ำมันดีเซลจะถูกฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้โดยที่ไม่มีหัวเทียน (Spark Plug) ในการช่วยจุดระเบิด ซึ่งจุดนี้นับเป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างเครื่องยนดีเซลและเครื่องยนแก๊ซโซลีน ดังนั้นน้ำมันดีเซลต้องมีคุณสมบัติในการจุดระเบิดที่เร็ว เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ได้ง่ายและปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เต็มที่ โดยก๊าซร้อนและความดันสูงที่ได้จากการเผาไหม้จะขยายตัวและดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ลง พร้อมกับขับเคลื่อนรถยนต์ไปข้างหน้า4) ก๊าซร้อนที่หมดพลังงานแล้วจะถูกขับออกไปในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นอีกครั้ง ก่อนที่อากาศจะถูกดึงเข้ามาอีกครั้งและเริ่มขั้นตอนที่ 1 ใหม่ ฮั่นแน่เริ่มเดากันได้แล้วใช่มั๊ยครับว่า […]

พัฒนาเทคโนโลยี “แทบตาย” แต่ทำไม “เจ๊ง” ทุกที เราทำอะไรผิดไป – Part 2 ?
  • 07/03/2022 by Macross
  • Publications

พัฒนาเทคโนโลยี “แทบตาย” แต่ทำไม “เจ๊ง” ทุกที เราทำอะไรผิดไป – Part 2 ?

โดย บำรุง สูงเนิน HIGHLIGHTS เป้าหมายที่จับต้องได้เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี ต้องถูกทำขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกของโปรเจ๊ก การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสมควรถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้จะบ่งบอกแนวโน้มของหนทางที่ถูกต้องและสามารถลดขนาดของหุบเขาเแห่งความตายได้ ก้าวที่หนึ่ง: กำหนดโจทย์และเป้าหมายที่จับต้องได้ เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าโปรเจ๊กที่กำลังถูกพัฒนามีโอกาสสำเร็จสูงขึ้น การกำหนดโจทย์และเป้าหมายที่จับต้องได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของโปรเจ๊กนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยปกติแล้วเป้าหมายจะถูกกำหนดในเชิงรูปแบบของกำไรหรือรายได้กลับเข้าสู่องค์กร จุดที่สำคัญคือ เราจำเป็นต้องแปรความผลกำไรให้นำไปสู่เป้าหมายในเชิงปริมาณที่ระบุและวัดได้ เช่น เงินลงทุนมากสุดที่เป็นไปได้ เป็นต้น เพื่อสร้างกรอบที่ชัดเจนในขั้นตอนต่อไป ก้าวที่สอง: วิเคราะห์ความอ่อนไหว หลักจากกำหนดกรอบอย่างชัดเจนในข้อแรก การนำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity analysis) มาประยุกต์ใช้จะทำให้สามารถระบุถึงพื้นที่ความเป็นไปได้เพื่อที่ทำให้โปรเจ๊กมีความสำเร็จ โดยขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการเป็นจุดเริ่มต้น และใช้ข้อมูลเชิงวิศวกรรมที่มีความเชื่อมั่นเพียงพอร่วมในการวิเคราะห์ เช่น การออกแบบที่สามารถใช้งานได้ในระดับโรงงานพาณิชย์ ก้าวที่สุดท้าย: ผลลัพท์ทั้งหมดที่เป็นไปได้เพื่อที่ทำให้โปรเจ๊กสำเร็จ ผลลัพท์สุดท้ายเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยกำหนดกรอบอย่างชัดเจนว่าในช่วงเริ่มแรกของโปรเจ๊กลักษณะความเป็นไปได้ควรจะแสดงผลออกมาในแนวทางใด ลงทุนในลักษณะไหน ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในแต่ละขั้นตอน ตัวอย่างกรณีศึกษา: การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา เราสามารถจะกำหนดลักษณะสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์โดยอาศัยการผ่านกระบวนการข้างต้นได้ดังนี้ ก้าวแรกทางนักวิจัยทำการสกรีนหาความเป็นไปได้เบื้องต้นของลักษณะสมบัติตัวเร่งปฏิกิริยาในระดับห้องปฏิบัติการ ควบคู่กับทีมงานที่กำหนดทิศทางธุรกิจตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมขยายขนาดถึงโรงงานพาณิชย์ จากนั้นนำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวมาใช้เพื่อหาเงื่อนไขความเป็นไปได้ต่างๆโดยที่โครงการยังอยู่ในกรอบของเงินลงทุนเพื่อให้การพัฒนาได้กำไรที่น่าพอใจคืนสู่บริษัท สุดท้ายผลที่ออกมาได้คือลักษณะสมบัติที่เป็นไปได้ของตัวเร่งปฏิกิริยาในเชิงเคมี เชิงกายภาพ ในระดับโรงงานพาณิชย์จะถูกกำหนดและส่งกลับไปกำหนดกรอบความเป็นไปได้ในขณะที่ทำการพัฒนาระดับห้องปฏิบัติการ ABOUT THE AUTHOR บำรุง สูงเนิน Content Leader ของสมาคม TIChE อ้างอิง (Reference) […]

Posts pagination

1 … 5 6 7 8 9 … 15
© 2019 TIChE. All rights reserved.